วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเด็นเชิงจริยธรรมในการวิจัยเชิงคุณภาพ


สืบเนื่องจากโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ผู้ร่วมงาน ของ กศ.วพบ. ได้จัดกิจกรรมครั้งที่ 1 ในประเด็นจริยธรรมการวิจัย โดยมีการนำสาระจากการเข้าร่วมประชุม เรื่อง  การวิจัยเชิงคุณภาพกับประเด็นจริยธรรมซึ่งผู้รยาย คือ ศ.ดร.เบญจา  ยอดดำเนิน-แอตติกจ์ ณ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล เมื่อวันที่ ๔ พ.ค. ๕๕ เวลา๐๙๐๐-๑๒๐๐ 
สรุปเนื้อหาสาระ โดย พ.ท.หญิง สุขภินุช สังฆสุวรรณ ดังนี้
1.หลักการจริยธรรมการวิจัยในคน ได้แก่ หลักการเคารพในบุคคล(Respect for person) หลักผลประโยชน์ ( Beneficence)  หลักความยุติธรรม ( Justice ) และ หลักการเคารพในชุมชน (Respect for communities)  
     1.1 หลักการเคารพในบุคคล
                - ผู้วิจัยชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัยแก่กลุ่มประชากรอย่างละเอียดชัดเจน
                -ผู้วิจัยให้กลุ่มประชากรเป็นผู้ตัดสินใจเข้าร่วม/ไม่เข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจ
     1.2 หลักผลประโยชน์
               -ออกแบบวิจัยเหมาะสม สอดคล้องกับโจทย์วิจัย
               - (do no harm, ผลวิจัยเกิดประโยชน์ต่อสังคม)
               - ครอบคลุมศักยภาพผู้วิจัย ( ในการดำเนินวิจัยและปกป้องสิทธิผู้เข้าร่วมวิจัย)
     1.3 หลักความยุติธรรม
              -มีกระบวนการเลือกผู้เข้าร่วมโครงการอย่างถูกต้องและยุติธรรม(กระจายความเสี่ยง / ประโยชน์ที่ได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ลำเอียงต่อกลุ่มใด)
              -IRB
              -กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม เพื่อพิจารณา ๓ ประเด็นที่กล่าวมา คือ ทั้งด้านจริยธรรม และ Research design
     1.4 หลักการเคารพในชุมชน
              -การปรึกษา ขอความเห็น ทำความเข้าใจบริบทของสังคม วัฒนธรรม
2.ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการวิจัยเชิงสังคมศาสตร์
     -ความเสี่ยงอันอาจเกิดจากความไม่สะดวก ( เวลา-สถานที่ ไม่เหมาะสม  แบบสอบถามยาวเกินไป หรือเก็บข้อมูลในช่วงที่ผู้ให้ข้อมูลไม่สะดวก)  ( ควรบอกใน Information sheet   ว่าแบบสอบถามยาวแค่ไหน  ใช้เวลานานเพียงใด )
     -ความเสี่ยงทางด้านอารมณ์/สภาพจิตใจ กลัวข้อมูลตนเองรั่วไหล แม้ว่าจะได้รับมั่นจากผู้วิจัยแล้วก็ตาม
     -ความเสี่ยงทางสังคม จากข้อมูลรั่วไหล ถูกสังคมรังเกียจ/กีดกันจากสังคม  ( ต้อง train ผู้เก็บข้อมูล/ถอดเทป ว่าต้องรักษาความลับ )
     -ความเสี่ยงทางกาย เช่น การศึกษาความรุนแรงในครอบครัว
     -ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เช่น ถูกออกจากงานหากมีผู้รู้ว่าติดเชื้อ
     -ความเสี่ยงต่อกฎหมาย โดยเฉพาะกรณีการกระทำบางอย่างผิดกฎหมาย
     -ความเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัว/การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
     -ความเสี่ยงจากกระบวนการวิจัย ควรระมัดระวังไม่ให้มีผลกระทบต่อแนวคิด/ความเชื่อ ของบุคคล/ชุมชนนั้น
3. การปกป้องความเป็นส่วนตัว/การรักษาความลับ
     -ข้อมูลนิรนาม ( anonymity) ผู้วิจัยก็ไม่รู้ว่าผู้ให้ข้อมูลคือใคร
     -การรักษาความลับ ( confidentiality) ผู้วิจัยรู้แต่เก็บเป็นความลับ( ในการทำ focus group ต้องบอกอย่างเคร่งครัดว่าข้อมูลที่พูดกัน จะอยู่เฉพาะในห้องนี้ )
4.ปัญหาในการเซ็นหนังสือแสดงเจตนายินยอมเข้าร่วมวิจัย
     -กลุ่มคนที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้
     -กลัวการนำลายเซ็นไปใช้ประโยชน์อื่น
     -อายุ น้อยกว่า 18 ปี ต้องให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล เป็นผู้อนุญาต
     -กลุ่มด้อยโอกาส เช่น มีความบกพร่องทางสมอง ปกป้องตนเองไม่ได้
5. การเขียนรายงานและบทความ
     -ไม่ระบุสถานที่ และ ผู้ให้ข้อมูล
     -วิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวม
     -กลุ่มตัวอย่าง/กรณีศึกษา ให้ใช้นามสมมุติแทน
     -การยกข้อความ ( quotation) ระบุเพียงลักษณะของผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น
     -การใช้แผนที่ประกอบ เพื่อให้เห็นสภาพภูมิศาสตร์/กายภาพ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ไม่ใช่บอกว่าศึกษาจากที่ใด

แนะนำหนังสือ
เศรษฐศาสตร์ซูชิ : การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
สัมฤทธิ์พิศวง ( Outliers) : advanced data analysis
อับราฮัม กับแวมไพร์ : หนังสือที่มีการ quotation ที่ดี