วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเด็นเชิงจริยธรรมในการวิจัยเชิงคุณภาพ


สืบเนื่องจากโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ผู้ร่วมงาน ของ กศ.วพบ. ได้จัดกิจกรรมครั้งที่ 1 ในประเด็นจริยธรรมการวิจัย โดยมีการนำสาระจากการเข้าร่วมประชุม เรื่อง  การวิจัยเชิงคุณภาพกับประเด็นจริยธรรมซึ่งผู้รยาย คือ ศ.ดร.เบญจา  ยอดดำเนิน-แอตติกจ์ ณ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล เมื่อวันที่ ๔ พ.ค. ๕๕ เวลา๐๙๐๐-๑๒๐๐ 
สรุปเนื้อหาสาระ โดย พ.ท.หญิง สุขภินุช สังฆสุวรรณ ดังนี้
1.หลักการจริยธรรมการวิจัยในคน ได้แก่ หลักการเคารพในบุคคล(Respect for person) หลักผลประโยชน์ ( Beneficence)  หลักความยุติธรรม ( Justice ) และ หลักการเคารพในชุมชน (Respect for communities)  
     1.1 หลักการเคารพในบุคคล
                - ผู้วิจัยชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัยแก่กลุ่มประชากรอย่างละเอียดชัดเจน
                -ผู้วิจัยให้กลุ่มประชากรเป็นผู้ตัดสินใจเข้าร่วม/ไม่เข้าร่วมโครงการโดยสมัครใจ
     1.2 หลักผลประโยชน์
               -ออกแบบวิจัยเหมาะสม สอดคล้องกับโจทย์วิจัย
               - (do no harm, ผลวิจัยเกิดประโยชน์ต่อสังคม)
               - ครอบคลุมศักยภาพผู้วิจัย ( ในการดำเนินวิจัยและปกป้องสิทธิผู้เข้าร่วมวิจัย)
     1.3 หลักความยุติธรรม
              -มีกระบวนการเลือกผู้เข้าร่วมโครงการอย่างถูกต้องและยุติธรรม(กระจายความเสี่ยง / ประโยชน์ที่ได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ลำเอียงต่อกลุ่มใด)
              -IRB
              -กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม เพื่อพิจารณา ๓ ประเด็นที่กล่าวมา คือ ทั้งด้านจริยธรรม และ Research design
     1.4 หลักการเคารพในชุมชน
              -การปรึกษา ขอความเห็น ทำความเข้าใจบริบทของสังคม วัฒนธรรม
2.ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการวิจัยเชิงสังคมศาสตร์
     -ความเสี่ยงอันอาจเกิดจากความไม่สะดวก ( เวลา-สถานที่ ไม่เหมาะสม  แบบสอบถามยาวเกินไป หรือเก็บข้อมูลในช่วงที่ผู้ให้ข้อมูลไม่สะดวก)  ( ควรบอกใน Information sheet   ว่าแบบสอบถามยาวแค่ไหน  ใช้เวลานานเพียงใด )
     -ความเสี่ยงทางด้านอารมณ์/สภาพจิตใจ กลัวข้อมูลตนเองรั่วไหล แม้ว่าจะได้รับมั่นจากผู้วิจัยแล้วก็ตาม
     -ความเสี่ยงทางสังคม จากข้อมูลรั่วไหล ถูกสังคมรังเกียจ/กีดกันจากสังคม  ( ต้อง train ผู้เก็บข้อมูล/ถอดเทป ว่าต้องรักษาความลับ )
     -ความเสี่ยงทางกาย เช่น การศึกษาความรุนแรงในครอบครัว
     -ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เช่น ถูกออกจากงานหากมีผู้รู้ว่าติดเชื้อ
     -ความเสี่ยงต่อกฎหมาย โดยเฉพาะกรณีการกระทำบางอย่างผิดกฎหมาย
     -ความเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัว/การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
     -ความเสี่ยงจากกระบวนการวิจัย ควรระมัดระวังไม่ให้มีผลกระทบต่อแนวคิด/ความเชื่อ ของบุคคล/ชุมชนนั้น
3. การปกป้องความเป็นส่วนตัว/การรักษาความลับ
     -ข้อมูลนิรนาม ( anonymity) ผู้วิจัยก็ไม่รู้ว่าผู้ให้ข้อมูลคือใคร
     -การรักษาความลับ ( confidentiality) ผู้วิจัยรู้แต่เก็บเป็นความลับ( ในการทำ focus group ต้องบอกอย่างเคร่งครัดว่าข้อมูลที่พูดกัน จะอยู่เฉพาะในห้องนี้ )
4.ปัญหาในการเซ็นหนังสือแสดงเจตนายินยอมเข้าร่วมวิจัย
     -กลุ่มคนที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้
     -กลัวการนำลายเซ็นไปใช้ประโยชน์อื่น
     -อายุ น้อยกว่า 18 ปี ต้องให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแล เป็นผู้อนุญาต
     -กลุ่มด้อยโอกาส เช่น มีความบกพร่องทางสมอง ปกป้องตนเองไม่ได้
5. การเขียนรายงานและบทความ
     -ไม่ระบุสถานที่ และ ผู้ให้ข้อมูล
     -วิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวม
     -กลุ่มตัวอย่าง/กรณีศึกษา ให้ใช้นามสมมุติแทน
     -การยกข้อความ ( quotation) ระบุเพียงลักษณะของผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น
     -การใช้แผนที่ประกอบ เพื่อให้เห็นสภาพภูมิศาสตร์/กายภาพ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ไม่ใช่บอกว่าศึกษาจากที่ใด

แนะนำหนังสือ
เศรษฐศาสตร์ซูชิ : การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
สัมฤทธิ์พิศวง ( Outliers) : advanced data analysis
อับราฮัม กับแวมไพร์ : หนังสือที่มีการ quotation ที่ดี 

2 ความคิดเห็น:

  1. วันนี้ไปฟังการนำเสนอรายงานการวิจัย มีสไลด์ที่ปรากฎชื่อผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ น่าจะเข้าข่ายเปืดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือไม่

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คำตอบของ Wassana Naiyapattana
      (ตอบผ่านนttp://www.facebook.com/groups/rtanc.research/ เมื่อ 14 ธ.ค.55)

      The real name of the interviewees should not be posted to public by any mean. If want to put the name, should use alias, pseudonym names instead.Except, the reseracher already got a permission from the participant (either formal or informal permission)

      ลบ